วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปวิจัย สื่อประเภทกิจกรรม (แบบจำลอง)

ผู้วิจัย
นิรันดร์ กังดี

ชื่อเรื่อง
การพัฒนาแบบจำลองการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษณะการรู้สารสนเทศ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อพัฒนาแบบจำลองการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบรูพา
 สถานที่ที่ใช้วิจัย
มหาวิทยาลัยบรูพา
วิจัยเมื่อ
30 เมษายน 2551
ผู้วิจัยได้ดำเนินการ
 ขั้นตอนที่1 ศึกษาข้อมูล เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่2 ออกแบบจำลองการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ
ขั้นตอนที่3 ประเมินแบบจำลองการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ
ขั้นตอนที่4 ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ
ขั้นตอนที่5 ประเมิน และปรับปรุง

การศึกษาวิจัย สรุปผลได้ดังนี้
            1.แบบจำลองการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศจำนวน 7ขั้นตอนประกอบด้วยกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตสารสนเทศ
2. กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนิสิตมหาวิทยาลับบรูพาได้

อภิปรายผล
            1.แบบจำลองการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป้าหมายเพื่อเป็นการปลูกฝังการค้นคว้า ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีระบบ
2.กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้กระบวนการทางความคิดได้อย่างอิสระและส่งเสริมให้มีการวางแผนการสืบค้นคว้าด้วยตัวผู้เรียนเอง

บรรณานุกรม
 ทิศนา แขมมณี.(2545).รูปแบบการเรียนการสอน:ทางเลือกที่หลากหลาย.กรุงเทพฯจุฬาลงกรมหาวิทยาลัวธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล(2529).การพัฒนาหลักสูตรจากแนวคิดสู่การปฎิบัติ.กรุงเทพฯ:อักษรบัณฑิต
นฤมล รักษาสุข. (มปป.) รายวิชา 204215การจัดการบริการสารสนเทศหน่วยที่6 มปท.

จัดทำโดย
นางสาว เพ็ญศิริ ลอออ่อน 52041178 คณะศึกษาศาสตร์ เอกเทคโนโลยี

สื่อมัลติมิเดีย

ความหมาย
           การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสาน สื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound)  และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  (Interactive Multimedia)  การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียน รู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

ลักษณะเฉพาะ
Information (สารสนเทศ)
Individualization (ความแตกต่างระหว่างบุคคล)
Interaction (การมีปฏิสัมพันธ์)
Immediate Feedback (ผลป้อนกลับโดยทันที)

คุณสมบัติ
               เนื่องจากประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย ที่สามารนำเสนอเนื้อหาได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประจวบเหมาะสมระบบติดต่อผู้ใช้ (GUI: Graphics User Interface) ที่ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งาน สร้างสรรค์งาน ทำให้บทบาทของสื่อฯ มีมากขึ้นตามลำดับ มีการนำสื่อมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ มากมาย เช่น การเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ปัจจุบันเทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสาร ยิ่งส่งเสริมให้การประยุกต์ใช้สื่อมัลติมีเดียได้รับการพัฒนาอย่างกว้าง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้กว้างไกล และรวดเร็ว มีผู้คนตอบสนองการใช้สื่อมัลติมีเดียมากขึ้น สื่อการเรียนการสอนระบบมัลติมีเดียผ่านเว็บ, ระบบประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับเทคโนโลยีที่ก้าวเกินกว่าจะคาดได้ถึง หรือไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ 

บอกสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
           การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนมีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน และด้านบริหารจัดการ เช่น การเงิน งานพัสดุ งานกิจการนักเรียน งานห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการ โรงเรียนควรจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน จัดเตรียมโปรแกรม หรือจัดหาโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้และวางแผนการใช้ให้ชัดเจน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือสื่อมัลติมี เดียนั่นเอง สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนช่วยส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการ เรียนการสอนให้คุ้มค่ามากขึ้น ด้วยเหตุผลดังนี้
          - เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่าสามารถ ช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
          - สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
          - สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตน เอง ตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง
          - ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring tool) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
          - ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
          - สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ตนเองต้องการ
          - เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ทุกระดับอายุและความ รู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
          - สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียนหรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายยังช่วยเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็น ประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย

ข้อบ่งใช้/วิธีการใช้สื่อ
      สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ซีดีรอม การสร้างบทเรียนใหข้าใจง่าย

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สื่อ
     เลือกใช้สื่อได้หลายรูปแบบ และง่ายต่อความเข้าใจ

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
      เข้าใจสื่อการสอนได้ง่าย เพราะมีสื่อผสมหลายๆ อย่าง ช่วยอธิบาย

บอกจุดเด่นจุดด้อยของสื่อ
จุดเด่น
1. เสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็น เส้นตรง ทำให้สามารถเชื่อมโยง ข้อมูลในที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
2. เนื้อหาบทเรียนมีทั้งภาพนิ่ง ภาพกราฟิกเคลื่อนไหว ภาพวีดิทัศน์ เสียงพูด เสียงดนตรี
3. ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียน และได้รับผลป้อนกลับทันที
4. สะดวกในการใช้
จุดด้อย
1. ต้องใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มี คุณภาพสูงในการผลิตบทเรียน
2. ต้องอาศัยเชี่ยวชาญในการสร้าง บทเรียน
3. ต้องใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ คุณภาพสูงพอควรจึงจะใช้ได้ดี
4. การผลิตบทเรียนลักษณะนี้ต้องอาศัยอุปกรณ์ร่วมหลายอย่าง เช่น เครื่องเสียง กล้องวีดิทัศน์ เครื่องเล่น

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ Offline

ความหมาย
        แบบไม่ใช้สายหรือไม่มีการติดต่อกันทางสาย ซึ่งหมายถึง การนำแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีรอมที่บันทึกข้อมูล มาเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพียงเครื่องเดียว (เรียกกันว่าแบบแสตนด์อะโลน (stand alone) แผ่นซีดีรอมใช้อยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด ภาพและเสียงก็จะแสดงผลอยู่ที่เฉพาะเครื่องนั้น

ลักษณะเฉพาะ
           การเรียนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน การให้ผู้เรียนอ่านเนื้อหาไปทีละหน้าจอๆ นั้นไม่ใช่การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพนักสำหรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้สร้างควรที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมมากมายหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้ใช้เกิดแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น แทนที่จะนำเนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ไปทีละหน้าจอๆ ผู้สร้างสามารถที่จะออกแบบให้ผู้เรียนคลิกที่ภาพนั้นก็จะนำไปสู่ภาพขององค์ประกอบคอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นผู้สร้างอาจที่จะใช้เสียงบรรยายเนื้อหาได้ด้วย การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะนี้ นอกจากจะบังคับให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนแล้วยังทำให้ผู้ใช้บทเรียนมองเห็นภาพความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนเนื่องจากการที่ผู้ใช้เกิดความอยากรู้อยากเห็นว่าจะเกิดอะไร ขึ้นหลังจากการคลิกลงบนภาพ

คุณสมบัติ
      สามารถใช้ได้ทุกที่ ๆ มีคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องต่อกับระบบ network เพราะภายในตัวสื่อนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว  เกิดการจูงใจทำให้มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ง่าย ใช้เวลาในการเรียนรู้ไม่มากนักเนื่องจากการใช้งานของโปรแกรมไม่ซับซ้อน

บอกสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
           ห้องคอมพิวเตอร์

ข้อบ่งใช้/วิธีการใช้สื่อ
            ใช้สื่อโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ออฟไลน์

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สื่อ
           ผู้สอนสามารถสอนบทเรียนจากโปรแกรมชุดได้

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
           ผู้เรียนสามารถใช้สื่อออฟไลน์ เพื่อเรียนในแต่ละบทเรียนได้

บอกจุดเด่นจุดด้อยของสื่อ
จุดเด่น
1. ใช้งานได้หลายประเภท เช่น การคำนวณ จัดเก็บฐานข้อมูล การจัดหน้าสิ่งพิมพ์ ฯลฯ
2. ใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ซับซ้อนได้
3. เสนอข้อมูลได้หลายประเภททั้ง ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
4. มีการโต้ตอบกับผู้เรียนเพื่อให้ ผลป้อนกลับด้วยความรวดเร็ว
5. สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ใน หน่วยความจำของเครื่องหรือใน วัสดุบันทึกอื่น เช่น จานบันทึกและ เทปแม่เหล็กได้

จุดด้อย
1. มีราคาสูงพอสมควร
2. ต้องมีการบำรุงรักษาตามระยะเวลา
3. ต้องใช้กับโปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภทต่าง ๆ จึงจะใช้งานได้
4. มีการเปลี่ยนแปลงด้านอุปกรณ์ เช่น ความเร็วในการทำงานการ์ดประเภทต่าง ๆ จนทำให้เครื่องที่มี อยู่ล้าสมัยได้เร็ว

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ online

ความหมาย
         ธรรมชาติของสื่อ
สื่อออนไลน์  online
           ต่อมาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องถูกนำมา เชื่อมโยง โดยใช้สายนำสัญญาณและใช้ซอฟแวร์จัดการให้ข้อมูลในเครื่องหนึ่งไปแสดงผลบน เครื่องอื่นได้ สื่อมัลติมีเดียก็ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ และถูกนำไปใช้ในประโยชน์ใน ระบบเครือข่ายเล็กๆ (LAN) นั่นคือเริ่มใช้เป็นสื่อแบบออนไลน์ (online) อาศัยสายสัญญาณที่เชื่อมโยงติดต่อกันนั้นนำข้อมูลมัลติมีเดียจาก เครื่องแม่ข่าย (server) กระจายไปแสดงผลที่ทุกเครื่องที่เป็น ลูกข่าย (clients) ใน เครือข่าย (network)

ลักษณะเฉพาะ
       ลักษณะของสื่อที่เป็น บทเรียนสำเร็จรูปและสื่อที่เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงสามารถสรุปเป็นความหมายของบทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์การสอน” (Computer Instruction Package :CI Package ) ว่าหมายถึง บทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นในลักษณะซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) นำไปสอน (Instruction) เนื้อหาใหม่ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนบทเรียนหรือนำเสนอบทเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถของตนเอง ในบทเรียนมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จุดเด่นที่สำคัญของบทเรียน คือ การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะหลายสื่อ (Multimedia) ได้แก่ประเภท ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพวิดีโอ (Video) และเสียง (Audio) โดยที่ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับบทเรียนโดยผ่านเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

คุณสมบัติ
         คุณสมบัติในการนำเสนอแบบหลายสื่อ (Multimedia) ด้วยคอมพิวเตอร์ และการเรียนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเป็นเพิ่มความน่าสนใจให้ แก่ผู้เรียน

บอกสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
        ห้องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

ข้อบ่งใช้/วิธีการใช้สื่อ
       ใช้สื่อโดยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อเข้าไปศึกษาข้อมมูล

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สื่อ
        ประหยัดเวลาในการเดินทางเพื่อจะไปสอน และสามารถสร้างความเข้าใจได้ง่าย

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
       ผู้เรียนสามารถ เข้าใจได้ง่ายกับโปรแกรมการเรียน ที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์        

บอกจุดเด่นจุดด้อยของสื่อ
จุดเด่น
1. ผู้เรียนสามารถมีการโต้ตอบกับ บทเรียนได้
2. สามารถให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียน ได้ในทันที
3. มีรูปแบบบทเรียนให้เลือกใช้มากมาย เช่น การสอน ทบทวน เกม ฯลฯ
4. เสนอบทเรียนได้ทั้งลักษณะตัวอักษร ภาพ และเสียง
5. ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหา บทเรียนและทำกิจกรรมได้ตาม ความสามารถของตนในลักษณะ การศึกษารายบุคคล
จุดด้อย
1. ต้องอาศัยผู้เชียวชาญในการเขียนโปรแกรมบทเรียน
2. โปรแกรมซอฟต์แวร์บางประเภทมีราคาสูงพอสมควร

สื่อประเภทกิจกรรม

ความหมาย
กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรมหรือวิธีการนับเป็นสื่อการสอนที่มีศักยภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา การใช้วิธีการหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนอาจต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้

ลักษณะเฉพาะ
1. ความเป็นเอกภาพ (Unity) หมายถึง การออกแบบทุกสิ่งทุกอย่างในการจัดนิทรรศการให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
2. ความสมดุล (Balancing) หมายถึง การจัดสิ่งต่าง ๆ ให้ได้สัดส่วนที่ก่อให้เกิดความรู้สึกสบาย ไม่หนักหรือเบาไปด้านใดด้านหนึ่ง 
3. การเน้น (Emphasis) เป็นการจัดสิ่งเร้าให้ดูเด่นเร้าความสนใจตามวัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการองค์ประกอบต่าง ๆที่เป็นตัวเน้นได้ดี เช่น เส้น สี น้ำหนัก ทิศทาง ขนาด แสง เสียง เป็นต้น
4. ความเรียบง่าย (Simplicity) การจัดสิ่งเร้าให้มีความเรียบง่ายจะช่วยให้รู้สึกสบายสะดุดตา 
5. ความแตกต่าง (Contrast) เป็นการจัดองค์ประกอบให้มีลักษณะแตกต่างกัน ให้ความรู้สึกตัดกัน เพื่อความชัดเจนและโดดเด่น
6. ความกลมกลืน (Harmony) เป็นการจัดองค์ประกอบให้มีลักษณะใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืน นุ่มนวล ราบเรียบ 

คุณสมบัติ
-                   สามารถจัดกิจกรรมได้ทุกรูปแบบ ให้เหมาะกับสถานที่และเนื้อหาของบทเรียน
-                   สามารถจัดเป็นกลุ่มในการทำกิจกรมได้
-                   สามารถจัดเป็นฐานกิจกรรมได้

บอกสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
 สถานการณ์จำลอง เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบของจริงให้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่นั้น การจัดสถานการณ์จำลอง เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับคนที่ออกไปเผชิญกับปัญหาจริง ๆ เช่น นักเรียนฝึกหัดครู ก่อนที่จะสอนต้องได้รับการฝึกฝนด้านวิชาการสอน วิธีฝึกอย่างหนึ่งที่ได้ผลดีคือ การฝึกจากสถานการณ์จำลองนั่นเอง

ข้อบ่งใช้/วิธีการใช้สื่อ
      การนำกิจกรรมมาปรับใช้ เพื่อให้นักเรียนสนใจบทเรียนมากขึ้น ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สื่อ
        สามารถนำกิจกรรมมาปรับใช้ได้หลายๆอย่าง เพื่อให้ผู้เรียนสนใจกับบทเรียนมายิ่งขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
    1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรม และประเมินผลกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ
3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ
6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้
7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยาก
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

บอกจุดเด่นจุดด้อยของสื่อ
จุดเด่น
1. สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน หรือวัสดุทึบแสงให้เป็นภาพที่มองดูมีขนาดใหญ่ได้
2. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตสไลด์และแผ่นโปร่งใส
4. สามารถใช้ได้ในที่ที่มีแสงสว่าง
5. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
6. ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผู้เรียนได้
7. ผู้สอนสามารถเตรียมแผ่นโปร่งใส ไว้ใช้ล่วงหน้า หรือสามารถเขียนลง ไปพร้อมทำการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
8. แผ่นโปร่งใสบางประเภทสามารถแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวได้บ้าง
จุดด้อย
1. ต้องใช้เครื่องในห้องที่มืดสนิท จึงจะเห็นภาพขยายได้ชัดเจน
2. เครื่องมีขนาดใหญ่ทำให้ ขนย้ายลำบาก
3. ถ้าจะผลิตแผ่นโปร่งใสที่มีลักษณะพิเศษจะต้องลงทุนสูง
4. ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์
5. ต้องฉายในห้องมืดพอสมควรยกเว้นจะมีจอ Daylight Screen
6. การถ่ายทำชุดสไลด์ที่ดีต้องมีการวางแผนทำบทสคริปต์การถ่ายทำ และการจัดภาพเป็นชุด

สื่อประเภทเสียง

ความหมาย
         เครื่องขยายเสียงเป็นเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กโทรนิคส์ที่ก้าวหน้าและมีความจำเป็นต่อชีวิตของคนเรามาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ และระบบเสียงของโทรทัศน์ และ C.V.D โดยต้องการให้เสียงนั้นมีความชัดเจนไม่มีเสียงรบกวนสอดแทรก มีเสียงเหมือนจริงตามธรรมชาติ และมีความไพเราะรื่นหู ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของเสียงให้อยู่ในขั้นดีเสียงดัง ฟังชัด และมีความเที่ยงตรง เหมือนความเป็นจริงมากที่สุด เรียกว่าระบบ Hi-Fi
ลักษณะเฉพาะ
   1) แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic) ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา
   2) แบบมือถือ (Hand mic) ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา
   3) แบบห้อยคอ (Lavalier mic) มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนค ไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์
   4) แบบบูม (Boom mic) ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเสื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง
   5) แบบบิง (Bing mic) ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย
   6) แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น
คุณสมบัติ
ไมโครโฟนในแต่ละแบบก็อาจมีคุณสมบัติต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
    1.ไมโครโฟนทั่วๆ ไป
มีผลตอบสนองความถี่ได้เรียบ ตั้งแต่ 100-10000 เฮิรตซ์ เป็นอย่างน้อยการตอบสนองความพี่ได้มากน้อง เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่นการแสดงดนตรีต้องใช้ไมโครโฟนที่ตอบสนองความถี่กว้างประมาณ 50-15000 เฮิรตซ์ โดยราบเรียบเสมอกัน ซึ่งได้แก่ไมโครโฟนแบบไดนามิค แบบริบบอน เป็นต้น
   2. ความไวในการรับเสียง
เนื่องจากคลื่นเสียงผ่านอากาศไปสู่ไมโครโฟน ไมโครโฟน จะเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และมีความแรงพอที่จะป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงได้ไมโครโฟนที่มีความไวการรับเสียงสูง จะสามารถรับคลื่นเสียงที่อยู่ห่างจากไมโครโฟนได้ไมโครโฟนทั่วไป จะมีคามแรงของสัญญาณที่ได้ออกมาเป็นเดซิเบล (dB) ต่ำกว่า 1 โวลท์ เช่น -60 dB หรือ -50 dB ค่า dB เป็นลบมากจะมีความไวต่ำกว่าค่ำ dB ที่เป็นลบน้อย นั่นคือ -60dB ดมีความไวต่ำกว่า -50dB
   3. อิมพีแดนซ์
(Impedance) หมายถึงความต้านทานของไมโครโฟนที่เกิดขึ้นขณะ มีสัญญาณหรอืกระแสสลับไฟลผ่าน มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm) มี 2 ชนิด
1) อิมพแดนซ์สูง (High Impedance) มีค่า Impedance อยู่ระหว่าง 5-10, 50 และ 100 K Ohm ซื่งจะเขียนติดไว้บนตัวไมโครโฟนนี้ชนิดไม่ควรใช้สายยายเกินกว่า 25 ฟุต จะทำให้เกิดเสียงฮัมและสูญเสียกำลังไปในสาย
2) อิมพิแดนซ์ต่ำ (Low Impedance) มีค่า Impedance 200-600 โอมห์ ใช้สายไมโครโฟนได้ยาว กว่า 100 ฟุต
บอกสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
เครื่องบันทึกเสียง ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหลายๆ วงการ เช่นนักข่าวใช้บันทึกเสียงการสัมภาษณ์ การสอบสวนใช้บันทึกเสียงผู้ให้ปากคำ ในวงการศึกษาได้นำเครื่องบันทึกเสียงมาใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นกัน โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น บันทึกรายการที่น่าสนใจจากวิทยุ และโทรทัศน์ การฝึกปฏิบัติการทางภาษาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ การเรียนดนตรี หรือม้กระทั่งการเรียนทางไกล ซึ่งใช้วิทยุและโทรทัศน์เป็นสื่อ ก็สามารถใช้เครื่องบันทึกเสียงรายการบทเรียนไว้ฟังได้หลาย ๆ ครั้ง หรือในเวลาที่ต้องการ และเมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถลบทิ้งแล้วบันทึกใหม่ได้อีก นับว่าให้ความสะดวกแกผู้ใช้มากกับทั้งราคาไม่แพงด้วย จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก




ข้อบ่งใช้/วิธีการใช้สื่อ
        
         การบันทึกเสียงจะเริ่มจากคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงจะผ่านไมโครโฟน ไมโครโฟนจะทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าตามลักษณะของคลื่นเสียง แล้วผ่านเครื่องขยายเพื่อขยายสัญญาณให้แรงขึ้น สัญญาณไฟฟ้าที่ถูกขยายแล้วนี้จะผ่านเข้าหัวบันทึกทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น สนามแม่เหล็กจะผ่านออกมาทางปลายวงแหวน ซึ่งเป็นช่องว่าง เมื่อนำเทปมาผ่านช่องว่างนี้ เส้นแรงแม่เหล็กจะทำให้ผงเหล็กออกไซต์ (Iron Oxide) มีอำนาจแม่เหล็กมากน้อยเหมือนกับตัวบันทึกนั่นก็คือการบันทึกเสียงนั่นเอง
        
ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สื่อ
         ผู้ใช้สื่อสามารถนำสื่อไปใช้ได้หลายด้าน เช่น การนำสื่อมาใช้เพื่อความบันเทิง สร้างกิจกรรมให้กับผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้สอน

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
           สามารถทำกิจกรรมได้อย่างเพลิดเพลิน และทำให้รู้สึกกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น

บอกจุดเด่นจุดด้อยของสื่อ
จุดเด่น
1. สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่ หรือรายบุคล
2. ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดได้ในระยะไกล ๆ
3. ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยาย ในการเดินทางไปสอนในที่ต่าง ๆ
4. สามารถให้ความรู้แก่ผู้ที่ ไม่สามารถอ่านเขียนได้เนื่องจากใช้ทักษะในการฟังเพียงอย่างเดียว
5. ต้นทุนการผลิตต่ำ
6. อุปกรณ์ราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้
7. ใช้ได้หลายกรณี เช่น ใช้ประกอบ สไลด์ ใช้บันทึกเสียงที่ไม่สามรถฟัง ได้ทั่วถึง เช่น การเต้นของหัวใจ เป็นต้น

จุดด้อย
1. ต้องใช้ห้องที่ทำขึ้นเฉพาะเพื่อ การกระจายเสียง
2. ผู้ฟังหรือผู้เรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการเนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ฟังได้
3. เป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ ผู้บรรยายไม่สามารถทราบปฏิกิริยา สนองกลับของผู้ฟัง
4. การบันทึกเสียงที่คุณภาพดี จำเป็นต้องใช้ห้องและอุปกรณ์ทีดี มีคุณภาพสูง
5. ต้องมีความชำนาญพอสมควร ในการตัดต่อเทป
6. ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษาa

สื่อประเภทสื่อฉาย

ความหมาย
เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน ได้แก่   เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และแสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น
ลักษณะเฉพาะ
1.เครื่องฉายภาพนิ่ง  จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ  ได้แก่  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพทึบแสง  และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  (เครื่องฉายภาพโปร่งใส)  เป็นต้น 
2.เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง  ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป  เครื่องฉายภาพดิจิตอล
3.เครื่องฉายภาพโปร่งใส  (TransparencyProjector)  ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง  (TransparencyMaterials)  เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพยนตร์  และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม  เป็นต้น
4.เครื่องฉายภาพทึบแสง  (OpaqueProjector)  เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้  แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน
5.เครื่องฉายภาพดิจิตอล(DigitalProjector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง

คุณสมบัติ
1. การควบคุมแสงสว่างจะต้องควบคุมแสงสว่างได้อย่างต่อเนื่อง เช่นจากสว่างไปค่อยๆมืด หรือจากมืดไปค่อยๆสว่าง
2. ระบบเสียง ต้องชัดเจนทั่วทั้งห้องฉาย
3. ระบบระบายอากาศ ต้องระบายอากาศได้ดี
4. ความชัดเจนของภาพ ทุกจุด ไม่เกิดภาพผิดเพี้ยนหรือ keystone or distortion

บอกสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
        ใช้ในห้องเรียนหรือสถานที่ที่ใช้ประชุม

ข้อบ่งใช้/วิธีการใช้สื่อ
        ควรจัดสถานที่ให้ผู้ที่ชมข้อมูลหรือภาพ บนจอฉายได้จัดเจน ปริมาณของผู้ชมต้องเหมาะสมกับขนาดของจอฉาย

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สื่อ
      สามารถเกิดประสิทธิภาพในการสอนที่เพิ่มมากขึ้นในการใช้นำเสนอข้อมูลทางการศึกษาให้กับผู้เรียน

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
      ผู้เรียนสามารถรับของมูลจากผู้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเข้าในเนื้อหาของการเรียนมากขึ้น

บอกจุดเด่นจุดด้อยของสื่อ
จุดเด่น
1. สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน หรือวัสดุทึบแสงให้เป็นภาพที่มองดูมีขนาดใหญ่ได้
2. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตสไลด์และแผ่นโปร่งใส
4. สามารถใช้ได้ในที่ที่มีแสงสว่าง
5. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
6. ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผู้เรียนได้
7. ผู้สอนสามารถเตรียมแผ่นโปร่งใส ไว้ใช้ล่วงหน้า หรือสามารถเขียนลง ไปพร้อมทำการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
8. แผ่นโปร่งใสบางประเภทสามารถแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวได้บ้าง
จุดด้อย
1. ต้องใช้เครื่องในห้องที่มืดสนิท จึงจะเห็นภาพขยายได้ชัดเจน
2. เครื่องมีขนาดใหญ่ทำให้ ขนย้ายลำบาก
3. ถ้าจะผลิตแผ่นโปร่งใสที่มีลักษณะพิเศษจะต้องลงทุนสูง
4. ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์
5. ต้องฉายในห้องมืดพอสมควรยกเว้นจะมีจอ Daylight Screen
6. การถ่ายทำชุดสไลด์ที่ดีต้องมีการวางแผนทำบทสคริปต์การถ่ายทำ และการจัดภาพเป็นชุด