วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อสิ่งพิมพ์

ความ หมายของสื่อสิ่งพิมพ์ 
           พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ว่า
           “สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี  ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
   ดังนั้น สื่อสิ่งพิมพ์จึงมีความหมายว่า สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ
 
 ลักษณะ เฉพาะของสื่อสิ่งพิมพ์
           สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
              - หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน
                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง
              - หนังสือบันเทิงคดี
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดย ใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้
          สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าว สาร
              - หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและ
ความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน
              - วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน
               - จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษา
หาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ
              - สิ่งพิมพ์โฆษณา
              - โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่ม
จำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า
              - ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย
              - แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้น
เป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ
              - ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ
          สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง
          สิ่งพิมพ์มีค่า
                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ, บัตรเครดิต, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน, หนังสือเดินทาง, โฉนด เป็นต้น
         สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ
                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตร, บัตรอวยพร, ปฎิทิน,บัตรเชิญ,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น
          สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น

 คุณสมบัติ ของสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท
              1. หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อที่สามารถจะนำ ข่าวสารไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว ฉับไว การส่งข่าวสาร การประชาสัมพันธ์หรือการโฆษณาจะส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพอย่างมาก ข้อมูลข่าวสารจะส่งจากผู้ส่งผ่านหนังสือพิมพ์ไปยังผู้อ่านหรือผู้บริโภคได้อย่างทันทีทันใจ การประชาสัมพันธ์หรือการโฆษณาที่สามารถกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสม ออกแบบนำเสนอข้อมูลได้อย่างพอดี แม้จะมีส่วนดีอยู่มากแต่ความจำเป็นก็ย่อมพึงมีอยู่เช่นกัน ซึ่งพอจะแยกแยะออกได้ ดังนี้
               
1.1 ข้อดีของหนังสือพิมพ์
                 
1.1.1 หนังสือพิมพ์ออกสม่ำเสมอทุกวัน การนำเสนอข้อมูลจึงรวดเร็ว ทันใจ เป็นที่ยอมรับของคน
                                ทั่วไป
                      1.1.2 ผู้บริโภคสามารถเลือกเวลาอ่านได้ และสามารถอ่านย้อนไปย้อนมาได้หลายครั้ง
                      1.1.3 สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตามวัตถุประสงค์
                      1.1.4 ประหยัดงบประมาณเมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ
                      1.1.5 สมารถสร้างสรรค์แนวข้อมูลได้เต็มที่
              
1.2 ข้อจำกัดของหนังสือพิมพ์
                 
1.2.1 การเสนอข้อมูลของหนังสือพิมพ์มีความหลากหลาย บางครั้งอาจทำให้กลุ่มเป้าหมายมอง
                                ผ่านหรือไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร
                      1.2.2 มีความจำกัดเกี่ยวกับการพิมพ์และกระดาษที่ใช้พิมพ์
                      1.2.3 ผู้อ่านส่วนมากอาจจะอ่านแล้วทิ้ง ทำให้ได้เห็นครั้งเดียว ไม่ช่วยย้ำความทรงจำ ยกเว้นการนำเสนอแบบต่อเนื่อง
                      1.2.4 ในกรณีที่เป็นคอลัมน์ขนาดเล็กมักจะสูญเปล่า เพราะถูกมองผ่านไปอันเนื่องมาจากความหลากหลายของสาระข้อมูล
            2. นิตยสาร วารสารหรือ นิตยสารที่ผลิตขึ้นเพื่อจัดวางจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันมีหลายประเภท
หลายขนาดและหลายรูปแบบ แล้วแต่วัตถุประสงค์ที่จัดทำขึ้น เช่น นิตยสารกีฬา นิตยสารผู้หญิง นิตยสารทางวิชาการ นิตยสารทางธุรกิจ หรือนิตยสารทั่วไป ถ้าพิจารณาจากชื่อนิตยสารดังกล่าวจะเห็นว่า นิตยสารแต่ละประเภทจะมีกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าหนังสือพิมพ์ ข้อดีและข้อจำกัดก็ย่อมมีความแตกต่างไปจากสัตว์อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
           
   2.1 ข้อดีของนิตยสาร
                 
2.1.1 นิตยสารแต่ละฉบับมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน การส่งข่าวสารข้อมูลจึงมีความแน่นอน ตรง
                                ทิศทางที่วางไว้
                      2.1.2 นิตยสารจะถูกหยิบมาอ่านยามว่าง อ่านได้หลายครั้ง การตอกย้ำข้อมูลมีโอกาสผ่านสายตาผู้อ่านมากขึ้น
                      2.1.3 การพิมพ์ประณีต สวยงาม ทำให้การเสนอข้อมูลได้เต็มที่ การสร้างสรรค์งานไม่มีข้อจำกัดจนเกินไป สามารถสร้างความสนใจได้มาก
                      2.1.4 สมารถสร้างความรู้สึกที่ดีแก่ผู้อ่าน เพราะบุคลิกของนิตยสารบางเล่มมีความสวยงามน่าสนใจ
                      2.1.5 ค่าใช่จ่ายไม่สูงมากนักและได้รับความนิยมดีมาก
              
2.2 ข้อเสียของนิตยสาร
                
2.2.1 การเผยแพร่มีความจำกัดต่อกลุ่มผู้บริโภค นิตยสารแต่ละเล่มจะเจาะลึกกลุ่มเป้าหมาย บาง
                               ครั้งมีการเผยแพร่เฉพาะในเมืองไม่มีในชนบท
                     2.2.2 ขาดความฉับไวและไม่ทันต่อเหตุการณ์ทันที นิตยสารแต่ละเล่มใช้เวลาดำเนินการนาน
                     2.2.3 การพิมพ์อันประณีตทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำต้นฉบับสูง โดยเฉพาะการพิมพ์หลายสี
            3. สื่อโฆษณาทางไปรษณีย์ สื่อ สิ่งพิมพ์ขนาดเล็กอันได้แก่ จดหมาย แผ่นพับ แผ่นปลิว แคตตาล็อค
โปสการ์ดหรือโชว์การ์ด นิยมใช้ประชาสัมพันธ์หรือการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ โดยตรงหรือโดยทาง
ไปรษณีย์ สื่อประเภทนี้เน้นการเสนอข่าวสารถึงผู้รับโดยตรงโดยไม่แอบแฝงใด ๆ จึงเห็นได้ว่าสื่อนี้จะเป็นสื่อกลุ่มเดียวที่จะถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง แต่การพิจารณาเลือกใช้สื่อประเภทนี้ก็จะต้องตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ ด้วยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ
               
3.1 ข้อดีของสื่อทางไปรษณีย์
                
3.1.1 สามารถเลือกสรรกลุ่มเป้าหมายและเสนอข้อมูลโดยตรงถึงได้มากที่สุด
                     3.1.2 สามารถตรวจสอบผลการตอบสนองต่อข่าวสารนั้นได้อย่างรวดเร็ว
                     3.1.3 ผู้รับสารมีความพึงพอใจและรู้สึกเป็นกันเอง
                     3.1.4 สามารถสร้างความสนใจแก่ผู้รับสารได้อย่างเต็มที่
                     3.1.5 ถ้าได้รับการออกแบบสื่ออย่างประณีตสวยงาม จะทำให้ผู้รับสารนั้นเก็บสื่อนั้นด้วยความ
                               ชื่นชม ทำให้เกิดการเผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
               
3.2 ข้อเสียของสื่อทางไปรษณีย์
                
3.2.1 ต้องใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
                     3.1.2 มีความยุ่งยากในการเผยแพร่ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ
                     3.1.3 เกิดการสูญเปล่าเมื่อผู้รับไม่สนใจข่าวสารนั้น
              4. ป้ายโฆษณา ป้ายโฆษณามี หลายลักษณะ และหลายขนาดแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้
ตั้งแต่ขนาดเล็กสำหรับติดในอาคารจนขนาดใหญ่สำหรับติดตั้งกลางแจ้งหรือบริเวณ ทั่วไป งานออกแบบแผ่นป้ายในปัจจุบันรียกร้องความสนใจได้ดี ผู้ออกแบบสามารถกำหนดรูปแบบได้อย่างอิสระ นิยมนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วย ทำให้เกิดมิติ เกิดกรเคลื่อนไหวได้ด้วย
                    
4.1 ข้อดีของแผ่นป้ายโฆษณา
                     
4.1.1 ทำให้ครอบคลุมพื้นที่สูง เลือกติดตั้งเฉพาะแหล่งชุมชนได้
                            4.1.2 ให้ความถี่ในการมองเห็นบ่อย เพราะจุดติดตั้งจะเป็นเส้นทางหรือบริเวณที่ต้องเดิน
                                      ผ่านไปมาเสมอ
                            4.1.3 สามารถดึงดูดความสนใจได้ดีมาก
                            4.1.4 ไม่มีความจำกัดเรื่องเวลาที่จะนำเสนอข้อมูล
                            4.1.5 ข้อความที่กะทัดรัดกลายเป็นจุดเด่นที่ทำให้เกิดการเน้นตัวอักษร และภาพลักษณ์
                                      เป็นที่จดจำได้ง่าย
                    
4.2 ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
                     
4.2.1 การนำเสนอข้อมูลมีความจำกัดสูง ทำให้ขาดรายละเอียดเมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ
                            4.2.2 กรณีที่มีตำแหน่งการติดตั้งไม่ดีนัก ย่อมได้รับความสนใจน้อย
                            4.2.3 ต้องการความปราณีตสูง ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก
                            4.2.4 บางครั้งทำให้เสียบรรยากาศสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะสื่อบางชิ้นที่ออกแบบ
                                     ไม่สวย ไม่สะดุดตา
             จะเห็นได้ว่าสื่อแต่ละประเภทย่อมมีศักยภาพที่แตกต่างกันไป ผู้ออกแบบจะต้องเข้าใจถึงลักษณะ
เฉพาะหรือข้อจำกัด เพื่อที่จะได้เป็นแนวคิดในการเลือกใช้และการออกแบบให้เหมาะสม สะดุดตาแก่ผู้พบ
เห็นได้อย่างเต็มที่ งานออกแบบจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดผลสำเร็จดังที่ตั้งใจ ไว้ นักออกแบบจะต้องศึกษาและพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนดำเนินการ
           5.การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภค
           
องค์ประกอบสุดท้ายของวงจรการสื่อความหมายหรือการส่ง ข่าวสารก็คือความมุ่งหวังที่จะให้ผู้
บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง ฉับไว และพึงพอใจด้วยดังได้กล่าวแล้ว การจะ
ให้เกิดผลดังเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น ผู้ออกแบบจะต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมาย สามารถแยกแยะรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้บริโภคเป็นอย่างดี ข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรทราบและพิจารณา ได้แก่ เพศ วัย การศึกษาหรืออาชีพการงาน ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ผู้ออกแบบจะต้องนำมาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์งานให้สอดคล้อง กับความสนใจตามหลักจิตวิทยาการออกแบบและเหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ที่เขาพึงจะรับรู้ และเข้าใจได้ การศึกษา
วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายอาจพิจารณาแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 แนวทางด้วยกัน คือ
                  5.1 การแบ่งตามลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ เพศ ฐานทางเศรษฐกิจ พื้นฐานทางการศึกษาและอาชีพ
                  5 .2 การแบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ พิจารณาตามลักษณะถิ่นฐาน ที่อยู่ และสภาพแวดล้อม
                  5 .3 การแบ่งตามลักษณะจิตวิทยา ได้แก่ แนวคิด ทัศนคติ วิธีการดำเนินชีวิต ความเชื่อ ฯลฯ
             วิธีการแบ่งลักษณะของกลุ่มเป้าหมายเพื่อต้องการศึกษาถึงราย ละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความสนใจความพึงพอใจ หรือดการตัดสินใจ การแสดงพฤติกรรมที่จะดำเนินการใด ๆ ตามข้อมูลสาระที่นำเสนอ การที่ได้ทราบถึงอิทธิพลของการคิด การจูงใจจนมีผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและอื่น ๆ การแยกแยะทิศทางการคิดอย่างถูกต้องจึงมีประโยชน์ที่จะมองข้ามเสียมิได้

บอกสภาพการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
       สามารถใช้ได้ทุกสภาพการ เพราะเป็นสื่อที่ให้ความรู้และทุกคนสามารถใช้ได้ตลอดเวลา

ข้อบ่งใช้หรือวิธีการใช้สื่อ
    ควรเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเพศและวัยในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อเพิ่มความรู้ให้กับตนเอง

ผลที่เกิดกับผู้ใช้
     ผู้ใช้สื่อจะได้รับข่าวสารความรู้มากมายจากสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะเข้าถึงทุกเพศทุกวัยและสามารถนำข้อมูลที่มีเนื้อหาสาระดีๆปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผลที่เกิดกับผู้เรียน
     ให้นักเรียนได้รับความรู้มากยิ่งขึ้นในการเรียน และรับข่าวสารต่างๆได้ เช่นการใช้หนังสือเรียนในสอนในชั้นเรียนของครู

ข้อดีของสื่อสิ่ง พิมพ์
1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
2. เลือกกลุ่มเป้าหมายได้
3. รวดเร็วทันสมัย ทันเวลา
4. ค่าใช้จ่ายถูก
5. เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ
6. สามารถส่งข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมาย หลายกลุ่มได้ในเวลาที่พร้อมกัน
7. สามารถออกแบบรูปแบบสื่อได้เต็มที่ เพราะไม่มีขีดจำกัดด้านเนื้อที่ ขนาด
8. สื่อมีอายุยาวนาน
9. มีความคงทนถาวร
10. มีความยืดหยุ่นสูง เพราะอาจเปลี่ยนแปลงเนื้อหา และงบประมาณของสถาบันได้ง่าย
ข้อ จำกัดของสื่อสิ่งพิมพ์
1. ไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดี
2. ผู้อ่านจะเลือกอ่านเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเขา
3. งบประมาณเป็นอุปสรรคในการจัดทำ
4. ยุบหรือเลิกง่าย
5. มีวัตถุประสงค์ไม่แน่นอน หรือขาดความรู้ที่น่าสนใจ
6. การเผยแพร่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น