วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อประเภทสื่อฉาย

ความหมาย
เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน ได้แก่   เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และแสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น
ลักษณะเฉพาะ
1.เครื่องฉายภาพนิ่ง  จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ  ได้แก่  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพทึบแสง  และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  (เครื่องฉายภาพโปร่งใส)  เป็นต้น 
2.เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง  ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป  เครื่องฉายภาพดิจิตอล
3.เครื่องฉายภาพโปร่งใส  (TransparencyProjector)  ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง  (TransparencyMaterials)  เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพยนตร์  และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม  เป็นต้น
4.เครื่องฉายภาพทึบแสง  (OpaqueProjector)  เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้  แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน
5.เครื่องฉายภาพดิจิตอล(DigitalProjector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง

คุณสมบัติ
1. การควบคุมแสงสว่างจะต้องควบคุมแสงสว่างได้อย่างต่อเนื่อง เช่นจากสว่างไปค่อยๆมืด หรือจากมืดไปค่อยๆสว่าง
2. ระบบเสียง ต้องชัดเจนทั่วทั้งห้องฉาย
3. ระบบระบายอากาศ ต้องระบายอากาศได้ดี
4. ความชัดเจนของภาพ ทุกจุด ไม่เกิดภาพผิดเพี้ยนหรือ keystone or distortion

บอกสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
        ใช้ในห้องเรียนหรือสถานที่ที่ใช้ประชุม

ข้อบ่งใช้/วิธีการใช้สื่อ
        ควรจัดสถานที่ให้ผู้ที่ชมข้อมูลหรือภาพ บนจอฉายได้จัดเจน ปริมาณของผู้ชมต้องเหมาะสมกับขนาดของจอฉาย

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สื่อ
      สามารถเกิดประสิทธิภาพในการสอนที่เพิ่มมากขึ้นในการใช้นำเสนอข้อมูลทางการศึกษาให้กับผู้เรียน

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
      ผู้เรียนสามารถรับของมูลจากผู้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเข้าในเนื้อหาของการเรียนมากขึ้น

บอกจุดเด่นจุดด้อยของสื่อ
จุดเด่น
1. สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน หรือวัสดุทึบแสงให้เป็นภาพที่มองดูมีขนาดใหญ่ได้
2. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตสไลด์และแผ่นโปร่งใส
4. สามารถใช้ได้ในที่ที่มีแสงสว่าง
5. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
6. ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผู้เรียนได้
7. ผู้สอนสามารถเตรียมแผ่นโปร่งใส ไว้ใช้ล่วงหน้า หรือสามารถเขียนลง ไปพร้อมทำการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
8. แผ่นโปร่งใสบางประเภทสามารถแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวได้บ้าง
จุดด้อย
1. ต้องใช้เครื่องในห้องที่มืดสนิท จึงจะเห็นภาพขยายได้ชัดเจน
2. เครื่องมีขนาดใหญ่ทำให้ ขนย้ายลำบาก
3. ถ้าจะผลิตแผ่นโปร่งใสที่มีลักษณะพิเศษจะต้องลงทุนสูง
4. ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์
5. ต้องฉายในห้องมืดพอสมควรยกเว้นจะมีจอ Daylight Screen
6. การถ่ายทำชุดสไลด์ที่ดีต้องมีการวางแผนทำบทสคริปต์การถ่ายทำ และการจัดภาพเป็นชุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น