วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อประเภทกิจกรรม

ความหมาย
กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรมหรือวิธีการนับเป็นสื่อการสอนที่มีศักยภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา การใช้วิธีการหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนอาจต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้

ลักษณะเฉพาะ
1. ความเป็นเอกภาพ (Unity) หมายถึง การออกแบบทุกสิ่งทุกอย่างในการจัดนิทรรศการให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
2. ความสมดุล (Balancing) หมายถึง การจัดสิ่งต่าง ๆ ให้ได้สัดส่วนที่ก่อให้เกิดความรู้สึกสบาย ไม่หนักหรือเบาไปด้านใดด้านหนึ่ง 
3. การเน้น (Emphasis) เป็นการจัดสิ่งเร้าให้ดูเด่นเร้าความสนใจตามวัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการองค์ประกอบต่าง ๆที่เป็นตัวเน้นได้ดี เช่น เส้น สี น้ำหนัก ทิศทาง ขนาด แสง เสียง เป็นต้น
4. ความเรียบง่าย (Simplicity) การจัดสิ่งเร้าให้มีความเรียบง่ายจะช่วยให้รู้สึกสบายสะดุดตา 
5. ความแตกต่าง (Contrast) เป็นการจัดองค์ประกอบให้มีลักษณะแตกต่างกัน ให้ความรู้สึกตัดกัน เพื่อความชัดเจนและโดดเด่น
6. ความกลมกลืน (Harmony) เป็นการจัดองค์ประกอบให้มีลักษณะใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืน นุ่มนวล ราบเรียบ 

คุณสมบัติ
-                   สามารถจัดกิจกรรมได้ทุกรูปแบบ ให้เหมาะกับสถานที่และเนื้อหาของบทเรียน
-                   สามารถจัดเป็นกลุ่มในการทำกิจกรมได้
-                   สามารถจัดเป็นฐานกิจกรรมได้

บอกสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
 สถานการณ์จำลอง เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบของจริงให้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่นั้น การจัดสถานการณ์จำลอง เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับคนที่ออกไปเผชิญกับปัญหาจริง ๆ เช่น นักเรียนฝึกหัดครู ก่อนที่จะสอนต้องได้รับการฝึกฝนด้านวิชาการสอน วิธีฝึกอย่างหนึ่งที่ได้ผลดีคือ การฝึกจากสถานการณ์จำลองนั่นเอง

ข้อบ่งใช้/วิธีการใช้สื่อ
      การนำกิจกรรมมาปรับใช้ เพื่อให้นักเรียนสนใจบทเรียนมากขึ้น ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สื่อ
        สามารถนำกิจกรรมมาปรับใช้ได้หลายๆอย่าง เพื่อให้ผู้เรียนสนใจกับบทเรียนมายิ่งขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
    1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรม และประเมินผลกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ
3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ
6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้
7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยาก
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

บอกจุดเด่นจุดด้อยของสื่อ
จุดเด่น
1. สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน หรือวัสดุทึบแสงให้เป็นภาพที่มองดูมีขนาดใหญ่ได้
2. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตสไลด์และแผ่นโปร่งใส
4. สามารถใช้ได้ในที่ที่มีแสงสว่าง
5. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
6. ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผู้เรียนได้
7. ผู้สอนสามารถเตรียมแผ่นโปร่งใส ไว้ใช้ล่วงหน้า หรือสามารถเขียนลง ไปพร้อมทำการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
8. แผ่นโปร่งใสบางประเภทสามารถแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวได้บ้าง
จุดด้อย
1. ต้องใช้เครื่องในห้องที่มืดสนิท จึงจะเห็นภาพขยายได้ชัดเจน
2. เครื่องมีขนาดใหญ่ทำให้ ขนย้ายลำบาก
3. ถ้าจะผลิตแผ่นโปร่งใสที่มีลักษณะพิเศษจะต้องลงทุนสูง
4. ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์
5. ต้องฉายในห้องมืดพอสมควรยกเว้นจะมีจอ Daylight Screen
6. การถ่ายทำชุดสไลด์ที่ดีต้องมีการวางแผนทำบทสคริปต์การถ่ายทำ และการจัดภาพเป็นชุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น